วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

สรุปบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์


สรุปบทที่ 8
ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์




แนวคิดกลยุทธ์ทางการแข่งขัน
เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และความสามารถที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์แก่บริษัทท่ามกลางแรงกดดันทางการแข่งขันที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ทุกวันในตลาดการค้าโลก เป็นระบบที่ช่วยเหลือหรือกำหนดตำแหน่งการแข่งขันในตลาดและกำหนดกลยุทธ์ของกิจการ การสร้างกลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐาน 5 อย่าง
1.    กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านราคา
2.    กลยุทธ์ความแตกต่าง
3.    กลยุทธ์นวัตกรรม
4.    กลยุทธ์ความเจริญเติบโต
5.    กลยุทธ์สร้างพันธมิตร

บทบาททางกลยุทธ์สำหรับระบบสารสนเทศ
- การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ บทบาทที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่สำคัญในขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทำให้บริษัทลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการแก่ลูกค้าและสามารถพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์สำหรับการเปิดตลาดใหม่อีกด้วย
- การส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ สามารถให้ผลดีในการพัฒนาสินค้าและบริการหรือขั้นตอนการทำงานที่มีเอกภาพ
- การควบคุมลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า ทำให้ธุรกิจสามารถควบคุมสินค้าและผู้จัดหาสินค้า ให้มาทำธุรกิจด้วยกัน
- การสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลง การหาหนทางสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า
- การเพิ่มอุปสรรคของการเข้าสู่วงการ โดยการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการทำงานหรือส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ทำให้บริษัทอื่นเกิดความท้อถอยหรือเกิดความล่าช้าที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งในวงการ
- การยกระดับฐานงานเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ ทำให้บริษัทมีโอกาสได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของการปฏิบัติงาน
- การพัฒนาฐานข้อมูลทางด้านกลยุทธ์ เป็นข้อมูลที่จะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การแข่งของบริษัท จะเสริมการทำงานและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของบริษัท

การทำลายอุปสรรคทางธุรกิจ
- การทำลายอุปสรรคทางด้านเวลา การทำให้ระยะเวลาการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าสั้นลงและลดการลงทุนด้านการเก็บกักสินค้าให้เหลือน้อยที่สุด
- การทำลายอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์ การทำธุรกิจในตลาดทางด้านท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับโลก ทำลายระยะทางที่กีดขวางการควบคุมการบริหารงาน
- การทำลายอุปสรรคทางด้านต้นทุน ประหยัดค่าแรงงาน ลดขนาดของคลังสินค้า ลดจำนวนศูนย์

ขนส่งสินค้า และลดต้นทุนการตัดต่อสื่อสาร
- การทำลายอุปสรรคทางด้านโครงสร้าง อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และเครือข่ายการสื่อสารระยะไกลอื่นๆ สามารถส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในบริการการส่งสินค้า เพิ่มขอบข่ายและแทรกซึมเข้าสู่ตลาด

การประยุกต์ใช้เชิงกลยุทธ์และประเด็นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
การที่องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี บริษัทอาจใช้ระบบสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ ในเชิงป้องกันหรือในเชิงควบคุม เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน
กระบวนการทางธุรกิจในการจัดระบบใหม่
เป็นการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจซึ่งเป็นเรื่องที่มากกว่าการทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจเหมือนกับการคิดทบทวนใหม่ตั้งแต่เริ่มแรกและออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีบทบาทสำคัญในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ความรวดเร็วความสามารถในการประมวลผลข้อมูลและการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก

การปรับปรุงคุณภาพของธุรกิจ
วิธีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน รวมทั้งการปรับรื้อระบบ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเทคนิคการปรับโครงสร้างต่างๆ บางบริษัทได้รวมวิธีการต่างๆเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งวิธี

การบริหารคุณภาพโดยรวม
เป็นมากกว่าวิธีการเชิงกลยุทธ์สำหรับการปรับปรุงธุรกิจ คุณภาพจะเป็นสิ่งที่ถูกเน้นหนักจากมุมมองของลูกค้ามากกว่าตัวผู้ผลิตเอง ดังนั้น คุณภาพจำเป็นต้องตรงตามความต้องการหรือมากกว่าความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าผู้บริโภคสินค้าและบริการนั้นๆ

ก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งที่ฉับไว
ความว่องไวคล่องตัวหรือฉับไวในสภาวการณ์ที่มีการแข่งขันกันสูงนั้น เป็นความสามารถทางธุรกิจที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยดี สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงมีผลผลิตที่ดีและเหมาะกับที่ลูกค้าต้องการ

การสร้างบริษัทเสมือน
สามารถทำให้ผู้บริหาร วิศวกร นักวิจัย และพนักงานในสาขาอื่นๆ จากทั่วโลกประสานงานร่วมมือกัน เพื่อผลิตคิดค้นสินค้าและบริการใหม่ๆ โดยไม่ต้องมาพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัว

กลยุทธ์ของบริษัทเสมือน
- ใช้โครงสร้างพื้นฐานและความเสี่ยงร่วมกัน
- เชื่อมโยงความสามารถหลักเข้าด้วยกัน
- ลดเวลา ด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
- เพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและการครอบคลุมทางตลาด
- เข้าถึงตลาดใหม่ และแบ่งตลาดหรือลูกค้าให้กัน
- เปลี่ยนจากการขายสินค้ามาเป็นขายวิธีการแก้ปัญหา

การสร้างบริษัทที่สร้างสรรค์ความรู้
คือ บริษัทที่สร้างความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอและแพร่กระจายความรู้นั้นออกไปให้ทั่วในองค์กรรวมทั้งรีบปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้ได้

ระบบการบริหารความรู้
การบริหารความรู้จึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์เชิงกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ เพื่อให้เรียนรู้การบริหารองค์กรและเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจเป้าหมาย คือช่วยให้พนักงานที่มีความรู้ได้สร้างจัดระบบและกระจายความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับธุรกิจ

การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีกลยุทธ์
- การปรับปรุงด้านต้นทุนและประสิทธิภาพ
- การปรับปรุงผลการทำงานในด้านความมีประสิทธิผลทางธุรกิจ
- การเข้าสู่ตลาดในระดับโลก
- การเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการ

ลูกโซ่การเพิ่มมูลค่าของอินเทอร์เน็ต
สามารถช่วยให้บริษัทประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ได้และยังสามารถถูกใช้สำหรับจัดวางตำแหน่งของระบบงานที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐานของบริษัทได้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วย

ความท้าทายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ผู้จัดการมองระบบสารสนเทศในแนวใหม่ ระบบสารสนเทศมิใช่เป็นเพียงความจำเป็นทางด้านการปฏิบัติงาน และยังเป็นผู้ช่วยที่มีประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลและเครื่องมือในการตัดสินใจของระดับบริหารอีกด้วย

ความสำเร็จในเชิงกลยุทธ์ที่ยั่งยืน
1. สภาพแวดล้อม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม คือโครงสร้างของอุตสาหกรรม
2. ปัจจัยพื้นฐานตำแหน่งเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมโครงสร้างองค์กร พันธมิตร สินทรัพย์ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีและทรัพยากรความรู้
3. การทำการบริหารและกลยุทธ์ การพัฒนาและริเริ่มให้เกิดการกระทำและกลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

1. ถ้าให้นักศึกษาเป็นผู้บริหารในองค์กร จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันด้านการตลาดของตนอย่างไร และมีข้อสังเกตอย่างไรกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ  ความเป็นผู้นำด้านราคา ลดต้นทุนการจัดซื้อสร้างความแตกต่าง วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นนวัตกรรมเป็นผู้นำในตลาดความเจริญเติบโต พันธมิตร
คุณค่า ด้านกลยุทธ์ในทางธุรกิจประการหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ บทบาทที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่สำคัญในขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. กลยุทธ์บทบาทของระบบสารสนเทศอะไร ที่จะนำมาช่วยในกระบวนการการปรับรื้อระบบ และการจัดการคุณภาพ
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ความรวดเร็วความสามรถในการประมวลผลข้อมูล และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามรถเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับการติดต่อสื่อสารและการประสานงานในหมู่ที่รับผิดชอบในการทำงานและการบริหาร

3. จงตกตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กระบวนการปรับรื้อทางธุรกิจ
ตอบ  บริษัท รถยนต์ฟอร์ด ได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนของการจัดซื้อ อันเป็นกรณีตัวอย่างของการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ

4. จงยกตัวอย่างความสำเร็จของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ  บริษัท ซิลโก ซิสเต็ม  เป็นบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการสื่อสารระยะไกลที่มีชื่อเสียงระดับโลก

5. จงยกตัวอย่างความล้มเหลวของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ  1. แรงหลักดันจากลูกค้า (Customer Driven) การเปิดเสรีทางการค้าในอุตสาหกรรมและบริการหลายประเทศ ทำให้คู่แข่งสามารถเข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมากและลูกค้ามีทางเลือกในการตัดสินใจเลือกซื้อมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า ธุรกิจต้องพยายามหาความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยอาศัยการศึกษาและการวิจัยตลาด เพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องความต้องการของลูกค้า
2. การแข่งขันระดับโลก (Global Competition) การเติบโตที่รวดเร็วและพัฒนาการที่ต่อเนื่องของระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศส่งผลให้หลายธุรกิจขยายตัวจนมีขอบเขตข้ามพรมแดนของรัฐ หรือที่เรียกว่า "บริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation , MNC)" ทำให้ธุรกิจที่อยู่รอดในอนาคตจะต้องพัฒนาความเข้มแข็งและความสามารถในการปรับตัวให้รวดเร็วและถูกต้อง เพื่อที่จะแข่งขันบนเวทีโลกได้อย่างสมบูรณ์
3. การกำหนดขนาดที่เหมาะสม (Rightsizing) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ผู้บริหารองค์การต้องทำการปรับรูปแบบโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม โดยการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources) เพื่อลดความฟุ่มเฟือยในการใช้ทรัพยากรทางธุรกิจและสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. คุณภาพ (Quality) ในปัจจุบันทั้งธุรกิจและผู้บริโภคต่างตื่นตัวต่อแนวความคิดด้านคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์และการให้บริการ เนื่องจากลูกค้าไม่เพียงแต่ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการเท่านั้น แต่เขาต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพเหมาะสมกับเงินที่เสียไป หลายองค์การได้พยายามพัฒนาคุณภาพและบริการของตน โดยนำหลักการจัดการด้านการดำเนินงานสมัยใหม่ (Modern Operations Management) มาประยุกต์ให้ในการสร้างคุณภาพของงาน เช่น การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management , TQM) การผลิตแบบไม่มี ข้อผิดพลาด (Zero Defect) หรือคุณภาพจากแหล่งกำเนิด (Quality at Source) เป็นต้น
5. เทคโนโลยี (Technology) ธุรกิจนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานไม่เพียงเพื่อเพิ่มผลผลิตภาพรวมขององค์การ เช่น การลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการดำเนินงานให้สั้นลงเท่านั้น แต่เทคโนโลยีได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ ซึ่งช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่ธุรกิจ นอกจากนี้การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของธุรกิจยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค

6. จงอธิบายประโยชน์ของบริษัทเสมือน
ตอบ  - ใช้โครงสร้างพื้นฐาน และความเสี่ยงร่วมกัน
- เชื่อมโยงความสามรถหลักเข้าร่วมกัน
- ลดเวลา โดยการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกและการควบคลุมทางตลาด
- เข้าถึงตลาดใหม่ ๆ และแบ่งตลาดหรือลูกค้าให้กัน
- เปลี่ยนจากการขายสินค้ามาเป็นขายวิธีการแก้ไขปัญหา

7. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเป็นกลยุทธ์ในระหว่างการทำธุรกิจ ซึ่งสามารถประสานงานระหว่างลูกค้า ร้านค้า และอื่นๆได้อย่างไร
ตอบ  โดยสร้างเครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมที่เชื่อมโยงทุกร้านเข้าด้วยกัน เครือข่ายดังกล่าวถูกออกแบบให้ ผู้จัดการ ผู้จัดซื้อ ผู้ซื้อ และฝ่ายขาย ทำงานร่วมกันโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ตในตลาดออนไลน์
อ้างอิง : นายจตุพล

กรณีศึกษาจริง

บริษัท GATX Capital กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน

1.  อะไรคือความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ GATX ได้รับจากการพัฒนา ERPซอฟต์แวร์ให้เข้ากับความต้องการ
ตอบ  GATX สร้างงานหนึ่งขึ้นมาซึ่งไม่มีซอฟต์แวร์ SAP R/3 คือ ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้กระบวนการต่างๆในการดำเนินธุรกิจทำได้โดยอัตโนมัติซึ่งไม่มีใครเคยทำมาก่อนที่ทำให้อยู่เหนือกว่าคู่แข่งได้

2. อะไรคือประโยชน์ทางการแข่งขันที่ GATX มองหาจากการขาย ERP ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาแล้วให้กับคู่แข่งขัน
ตอบ  ทำให้บริษัทเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพและเป็นบริษัทผู้แข่งขันที่ดีเยี่ยมบริษัทขายซอฟต์แวร์ERP ที่พัฒนาขึ้นมาให้กับบริษัทคู่แข่งขัน เนื่องจากในธุรกิจลีสซิ่งนั้น คู่แข่งขันได้กลายเป็นหุ้นส่วนร่วมแบ่งปันความเสี่ยงของการให้เช่าสินทรัพย์มูลค่าสูง

3. อะไรคือความเสี่ยงทางธุรกิจของกลยุทธ์นี้ของ GATX
ตอบ  ความเสี่ยง คือ การขายเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ดังกล่าวให้แก่คู่แข่งขัน

กรณีศึกษาจริง

Ford Motor Company: การใช้อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
     
1. อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ช่วย Ford ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงานทางธุรกิจได้อย่างไร
ตอบ  คือช่วยให้ประหยัดเงินได้มากมาย ช่วยให้ Ford เปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจจากผลิตและขาย หันมาเป็นกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นแบบผลิตตามความต้องการ

2. ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานของ Ford ก่อให้เกิดอะไรบ้าง
ตอบ  การส่งรถยนต์จากโรงงานไปสู่ตัวแทนตำหน่ายจะใช้เวลาเพียง 15 วัน คือผลิตยานยนต์ให้ได้ตามความต้องการทำให้ประหยัดเงินได้หลายล้านเหรียญสหรัฐในสภาพคลังสินค้าและค่าใช้จ่ายปัจจุบัน

3. ผลกำไรที่ Ford หวังว่าจะได้รับจากการใช้อินทราเน็ต เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนการซื้อคืออะไร
ตอบ  ตัวแทนจำหน่ายจะสามารถให้ลูกค้าสั่งซื้อและจัดส่งรถได้ทุกประเภท พนักงานขายสามารถนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์กับลูกค้าและให้ลูกค้าระบุอุปกรณ์ที่ต้องการ ดูรูปประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงผลด้วยความละเอียดระดับสูง สั่งซื้อรถและสามารถรับทราบวันที่แน่นอนในการจัดส่ง
ที่มา : soawapa-soawapa.blogspot.com/2011/09/8.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น