สรุปบทที่ 5
อินทราเน็ต
เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร
อินทราเน็ต (Intranet)
อินทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ
และเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันกับ อินเทอร์เน็ต
แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกภายในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง
หรือระบบเครือข่ายกระทรวงมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศเป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง
แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้นเป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งานกล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ตก็คือการใช้งานของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโดยจำกัด
ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ต
ในปัจจุบันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลาย อาทิเช่น
การจัดการเอกสารข้อมูล, การตีพิมพ์และกระจายข่าวสาร, การจองห้องและอุปกรณ์, ห้องสนทนาออนไลน์(chat
room), เว็บบอร์ด (web board), อัลบั้มรูป, การจัดการสมุดรายชื่อและข้อมูลการติดต่อ และอื่น ๆ อีกมากมาย
เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นระบบเครือข่ายที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร
เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการทำงานต่างๆร่วมกันของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งานให้อยู่ภายในองค์กรเท่านั้น
เช่น การใช้งานเครื่องบริการเว็บ (web server)
ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
ตัวอย่างโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อเครือข่ายอินทราเน็ต
http://e-businessspu.blogspot.com/2015/10/intranet.html
เอกซ์ทราเน็ต (Extranets)
เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต
กล่าวคือ เอ็กซ์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร
ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท
การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน
เช่น
องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่
เป็นต้น การสร้างเอ็กซ์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล
รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ
นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้
ประโยชน์ของเอกซ์ทราเน็ต
1.ช่วยให้การทำงานผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพราะสามารถติดต่อกับสมาชิกเครือข่ายได้หลายรูปแบบทั้งการโต้ตอบการข่าวสารหรือการส่งโทรสาร
2.ทำให้ธุรกิจสามารถบริหารสินค้าคงคลังได้ดีขึ้นเนื่องจากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายของบริษัทเข้ากับบริษัทคู่ค้าหรือบริษัทขายสินค้าโดยตรงเช่นผู้ค้าปลีกที่มีการติดต่อกับผู้ค้าส่งย่อมมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาว่าสินค้าตัวไหนขายดีเป็นการตัดปัญหาเรื่องสินค้าขายตลาดไปได้
3.ช่วยรักษาความสัมพันธ์ในแบบตัวต่อตัวกับลูกค้าโดยจะลดเวลาและต้นทุนที่ใช้ในกระบวนกาติดต่อลูกค้าหรือให้บริการลูกค้าลดลงตัวอย่างเช่นบริษัทสามารถเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวสินค้าและบริการไปยังลูกค้าได้ง่ายขึ้น
4.สามารถสร้างกลุ่มข่าวสารส่วนบุคคล (Private Newsgroup) ที่เป็นแหล่งที่ให้ธุรกิจทีรวมกลุ่มกันนั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ร่วมกัน
5.สามารถจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงานรมกันภายในกลุ่มโดยผ่านทางเอกซ์ทราเน็ตสามารถให้บริการหรือขายสินค้าเฉพาะลูกค้าที่เป็นสมาชิกท่านั้น
ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างอินทราเน็ต
เอกซ์ทราเน็ต และอินเทอร์เน็ต
http://e-businessspu.blogspot.com/2015/10/extranets.html
กรณีศึกษา
Nu Skin International
: มูลค่าทางธุรกิจเอ็กซ์ทราเน็ตของตัวแทนจำหน่าย
1. อะไรคือวัตถุประสงค์ของ Nu
Skin ในการใช้เอ็กซ์ทราเน็ต อะไรคือผลประโยชน์ที่ Nu
Skin คาดหวัง
ตอบ การเสริมเครื่องมือสนับสนุนการเจาะตลาดตามบ้าน
การใช้เอ็กซ์ทราเน็ตสำหรับเก็บคำสั่งซื้อ คาดหวังที่จะลดต้นทุนการดำเนินงาน
2. ตัวแทนจำหน่ายของ Nu
Skin ได้รับผลประโยชน์อะไรจากเอ็กซ์ทราเน็ต
ตอบ ได้รับสารสนเทศเกี่ยวกับเครื่องสำอาง โภชนาการ และผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาที่บริษัทมีเสนออยู่ได้สั่งซื้อแบบออนไลน์
จัดการการส่งสินค้า
ตรวจสอบยอดขายของตัวเองสนับสนุนตัวแทนจำหน่ายใหม่และติดตามการจ่ายเช็กรายเดือน
3.ทำไมเอ็กซ์ทราเน็ตจึงเป็นแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเครือข่ายของตัวแทนจำหน่ายทางด้านการตลาดธุรกิจเช่น Nu
Skin
ตอบ การให้บริการบนเว็บจะทำให้เกิดการผลักดันในเรื่องการแข่งขันและจูงใจตัวแทนจำหน่ายรายใหม่และได้รับสารสนเทศที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5
1. มีธุรกิจอะไรบ้าง
ที่นำเข้าระบบอินทราเน็ตเข้าไปช่วยในการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรของตน
ตอบ บริษัท US
West Communications และ Netscape Communications
2. นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่
ที่มีบางบริษัทนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ในการติดต่อกับพนักงานและร้านค้าต่างๆ
ด้วยการใช้โทรศัพท์
ตอบ เป็นเครื่องมือที่ต้นทุนต่ำและใกล้ที่จะเป็นการสื่อสารสากลช่วยในการส่งโทรสาร
รับไปรษณีย์เสียงและนำสู่การสนทนาสองทาง
3. มีอะไรบ้างที่เป็นข้อจำกัดในการนำเข้าระบบอินทราเน็ตมาใช้ในธุรกิจปัจจุบัน
ตอบ เทคโนโลยีใหม่ที่ค่อยเป็นค่อยไป
ขาดคุณสมบัติในเรื่องความปลอดภัย ขาดการจัดการปฏิบัติงาน การสนับสนุนจากผู้ใช้ต่ำสุด
อาจต้องการการยกระดับเครือข่าย แม่ข่ายไม่สามารถใช้งานร่วมกันระหว่างรุ่นต่างๆได้
ไม่ได้อัตราส่วนกับองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้โปรแกรมประยุกต์เชิงโต้ตอบที่เพิ่มขึ้น
ยากที่จะบำรุงรักษาสารบัญได้ตลอดเวลา ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์และเสียงที่ช้า
สารสนเทศที่ไม่ได้กรองอาจจะท่วมผู้ใช้ พนักงานไม่ทุกคนที่จะมีคอมพิวเตอร์
4.นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่มีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และมีความต้องการที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันหรือติดต่อกับบุคคลอื่น
เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วย
เพราะในยุคนี้เป็นยุคของโลกไซน์เบอร์ที่ต้องมีการพัฒนาตัวเองทางด้านคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์กันมากขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้และตามทันคู่แข่งขันที่ทันสมัยที่มีการแข่งขันสูง
5. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่ใช้อินทราเน็ตให้บริการทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท US
West Communications
6. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตให้บริการทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Nu
Skin Internetional
7.นักศึกษาเคยใช้การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(e-mail)หรือการพูดคุยผ่านระบคอมพิวเตอร์(Chat) หรือการประชุมร่วมกันตัดสินใจหรือไม่และให้เหตุผลที่จะนำเอาระบบเหล่านี้มาที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน จงอธิบาย
ตอบ เคย
เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับผู้อื่นในธุรกิจ
ส่งสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ของเอกสาร แฟ้มข้อมูลและข้อความสื่อประสม
8. จงยกตัวอย่างเครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
ตอบ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ไปรษณีย์เสียง การส่งโทรสาร งานสิงพิมพ์บนเว็บ
ที่มา: https://sites.google.com/site/chodiwat2/kherux-khay-khxmphiwtexr/xinthexrnet-xinthranet
http://learn.wattano.ac.th/
http://num-kwang.blogspot.com/2011/08/5.html