วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สรุปการนำเสนอผลงานวิจัย ภาคบรรยาย (Oral Presentation)
วันที่ 26 ธันวาคม 2560 
ห้องที่4 กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี 
มีเนื้อหาดังนี้




1. การพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบแนะนำสัตว์และแมลงมีพิษในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงออคเมนเต็ดเรียลลิตี้  (ศัชชญาส์  ดวงจันทร์)  
สรุปผลการวิจัย
     ช่วยในการให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และป้องกันแมลงมีพิษ และเป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีความสอดคล้องกันกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 

2. การพัฒนากระบวนการคั่วกาแฟและเครื่องคั่วกาแฟขนาดเล็ก โดยใช้สเปาเตดเบด (สุชน  ทรัพย์สิงห์)
สรุปผลการวิจัย
     1. การคั่วกาแฟด้วยเทคนิคสเปาเตดเบดแบบมีท่อนำก๊าซสามารถคั่วกาแฟได้สม่ำเสมอทั้ง 4 ระดับการคั่ว(city ( ),city,Full city และ Italian) โดยใช้อุณหภูมิลมร้อนอยู่ในช่วง 230-250  ํC และใช้เวลาในการคั่วอยู่ในช่วง 9.50 - 10.25 นาที
     2. ระดับการคั่ว (Degree of roast) มีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางกายภาพของกาแฟที่พิจารณาในการทดลอง ยกเว้นความชื้นของเมล็ดกาแฟ โดยค่าของกาแฟคั่ว a และ b มีค่าลดลงเมื่อระดับการคั่วเพิ่มขึ้น ค่าการสูญเสียมวลของกาแฟคั่วเพิ่มขึ้นตามระดับการคั่ว ส่วนค่าความหนาแน่นของเมล็ดกาแฟคั่วมีระดับลดลงตามระดับของการคั่ว
     3.ที่ระดับการคั่วตัวเดียวกันการคั่วที่ใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้น มีแนวโน้มที่ความสูญเสียและเวลาที่ใช้ในการคั่วลดลง

3.การศึกษาการออกแบบผังกระบวนการผลิตแบบลีนโดยใช้แผนผังความสัมพันธ์ของกิจกรรมกรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ AA จังหวัดนครราชสีมา  (อนิรุธ  พิพัฒน์ประภา)
สรุปผลการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย 6 ขั้นตอน PHDA
  1.ศึกษาสถานที่ประกอบการ
  2.ค้นหาระบุปัญหา
  3.ระบุปัญหา
  4.แก้ปัญหา
  5.ผลการศึกษา
  6.สรุปผลการศึกษา
แผนผังแบบลีน
  - การขนย้ายชิ้นงานระหว่างแผนก 55.23 เมตร/วัน  
  - เวลาในการเคลื่อนย้ายการผลิต 4.55 นาที
สรุป
     ลดระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายได้เยอะ เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน

4. ผลการเปรียบเทียบปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพระหว่างกรณีใช้และไม่ใช้นำ้ร้อนสำหรับระบบผลิตก๊าซชีวภาพแบบสองขั้นตอนจากมูลสุกร  (ประพันธ์พงษ์  สมศิลา)
สรุปผลการวิจัย
ชีวภาพก๊าซจากมูลสุกร  
   - ใช้นำ้ร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยมี 2 ขั้นตอนในการหมัก
   - อุณหภูมิต่างๆในกรณีไม่ใช้นำ้ร้อน ในอัตรา 50:50
     1. กรณีในการใช้น้ำร้อนเข้ามาช่วยในกระบวนการหมักชีวภาพแบบ 2ขั้นตอนสามารถช่วยในการเกิดเเก๊สเร็วกว่าการหมักไม่ใช่น้ำร้อน 
     2. การเพิ่มอุณภูมิในถังหมักช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยและจะเห็นได้ว่ามูลก๊าชดีกว่า 3.ค่าความเป็นกด-ด่าง ในถังหมักก๊าช กรณีใช้น้ำร้อนจะเป็นด่าง 
     3. ปริมาณมนการใช้น้ำร้อนสูงกว่ากรณีไม่ใช่น้ำร้อน 27.09% 

5. การศึกษาประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้วัสดุพรุนเป็นแหล่งสะสมความร้อน  (ประพัฒน์  บุญเต็ม)
สรุปผลการวิจัย
     ผลการทดลงพบว่าค่า Ap จะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นไปตามหลักของกลศาสตร์ของโลกคือเมื่อความเร็วการไหลเพิ่มขึ้นก้อจะให้ระหว่างอวกาศส่งผลให้ Ap มีค่าสูงขึ้น 

6. การศึกษาการซึมผ่านและสัมประสิทธิ์ความเฉื่อยของวัสดุพรุนชนิดตาข่ายสแตนเลส (สำเนาว์  เสาวกูล)
สรุปผลการวิจัย
     ค่าการซึมผ่านคือค่าความสามารถของวัสดุพรุนที่ยอมให้ของไหลผ่านตัวมันเอง ค่าสัมประสิทธิ์การเฉื่อยคือค่าด้านการไหลของการไหลโดยทั่วไปใช่กรณีที่ของไหลผ่านวัสดุพรุน 

7. การศึกษาและการสร้างแสงอาทิตย์เทียมขนาดเล็กสำหรับการทดสอบแผงรับรังสีแสงอาทิตย์ตามมาตรฐาน EN-12975-2   (ธนากรยะ  สูงเนิน)   
สรุปผลการวิจัย
   - การกระจายตัวของเข้มความแสงจะเริ่มสมำ่เสมอเมื่อระยะห่างระหว่างหลอดไฟกับพื้นที่รับแสงเพิ่มขึ้น
   - ระยะห่างระหว่างหลอดไฟกับพื้นที่รับแสงเท่ากับ 77 cm จะมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน EN-12975-2 มากที่สุด คือ มีค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 10.81 % มีค่าเข้มแสงเฉลี่ยเท่ากับ 703.72 W/m

8. การประยุกต์ใช้เว็บยูสเซสไมนิ่งเทคนิคเพื่อการศึกษาปัญหาการใช้งานอินเตอร์เน็ตกรณีศึกษามหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล   (ชลธี  ศิลา)
สรุปผลการวิจัย
   - ใช้เวลาในการจัดการข้อมูลน้อยกว่าชุดที่ 1
   - ค้นหากฎความสัมพันธ์ได้น้อยกว่าข้อมูลชุดที่ 1 

9. บทบาทและศักยภาพด้านการคมนาคมของจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย - ลาวในพื้นที่จังหวัดน่าน  (ธเนศ  เฮ่ประโคน)
สรุปผลการวิจัย
วิธีการดำเนินวิจัย 
     1.ในระยะเวลา1สัปดาห์ ระหว่างวันที่1-7 ตุลาคม2560 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเช่นผู้นำชุมชนหรือผู้ให้บริการ 15คน 
     2.สุ่มตัวอย่างเเบบเจาะจงและเเบ่งชั้นภูมิอย่างง่ายประเภทของสินค้าเริ่มต้นที่จะขายของ
     3.วิจัยเพื่อศักยภาพเส้นทางของคมนาคมที่เกี่ยวเนื่องกับจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน 
     4.การดำเนอนงานโดยเก็บข้อมูลทางกายภาพของถนนที่เกี่ยวเนื่องจำเเนกประเภทถนน 
สรุป
     ดังนั้นหากต้องส่งศักยภาพของจุดปรนในด้านการค้าจึงควรจำเป็นอย่างยิ่งที่ปรับปรุงสภาพผิวทางสนันสนุนการค้าชายเเดนในระดับท้องถิ่นที่ปรากฏที่จุดปรนในการค้าในบ้านใหม่ชายแดด อำเภอสองเเถว จ.น่าน 

10. การออกแบบระบบความควบคุมปั๊มสุญญากาศสำหรับใช้ในการรักษา  (ฐานุตต์  จิตสุภาบุญกิจ)
สรุปผลการวิจัย
     เป็นการปฐมพยาบาลแบบใช้ระบบความควบคุมปั๊มสุญญกาศสำหรับใช้ในการรักษา เพื่อให้บาลแผลมีการประสานเซลล์ให้แผลหายเร็วขึ้น




การประชุมวิชาการระดับชาติ "ราชมงคลสุรินทร์วิชาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017"


วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สรุปบทที่1 แบบฝึกหัดและกรณีศึกษา

สรุป

ข้อมูล สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียงก็ได้
สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ
ความรู้ คือ การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ คือมีความเข้าใจ(Understanding) ในองค์ประกอบต่างๆจนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิด และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้




ระบบ (System) หมายถึง กลุ่มของส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนประกอบของระบบประกอบด้วยการนำเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Process) ผลลัพธ์ (Output) และการให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback)
ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ



กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่
1. การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เป็นกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล
2. การประมวลผล เป็นการนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มีความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ วางแผน ควบคุม และดำเนินงานด้านต่าง ๆ ในการประมวลผลสามารถกระทำด้วยมือ (Manual) หรือจะใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
3. ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลผล โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษา และประมวลผลข้อมูลนั้น พร้อมทั้งมีการจัดทำรายงานข้อมูลให้อยู่ในรูปที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานบริหาร และตัดสินใจในหน่วยงานได้
MIS เป็นระบบที่รวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ
สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
1. พัฒนาการของความรู้ สิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
2. พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์
5. ความจำเป็นในการใช้สารสนเทศ
ลักษณะของสารสนเทศ
1. ถูกต้องแม่นยำ (Accurate)
2. สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete)
3. เข้าใจง่าย (Simple)                    
4. ทันต่อเวลา (Timely)                   
5. เชื่อถือได้ (Reliable)            
6. คุ้มราคา (Economical)
7. ตรวจสอบได้ (Verifiable)
8. ยืดหยุ่น (Flexible)
9. สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant)
10. สะดวกในการเข้าถึง (Accessible)
11. ปลอดภัย (Secure)
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วนดังนี้
        - ข้อมูล
        - บุคคล
        - ซอฟแวร์
        - ฮาร์ดแวร์
        - กระบวนการทำงาน
        - การสื่อสารและเครือข่าย
ความสำคัญของระบบสารสนเทศ
การนำเสนอระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจพอสังเขป ดังนี้
- การท้าทายของเศรษฐกิจโลก
- การท้าทายของเศรษฐกิจโลก
- การแข่งขันทางการค้า
- การขยายเครือข่ายทางการค้า
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน
3. ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
4. ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต



แบบฝึกหัดท้ายบท
1.นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS) หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร เช่น เช่น การบันทึกข้อมูล การจัดทำทะเบียนประวัติ เป็นต้น
เขียนโดย นภารัตน์ พันธ์ถาวรวัฒนา

2.ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   แตกต่างกัน เพราะ ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียงก็ได้ เช่น จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และที่อยู่ปัจจุบันของนักศึกษา เป็นต้น
          สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ
เขียนโดยอาจารย์ทาริกา   รัตนโสภา

3.สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ   1.) ถูกต้อง
   2.) ทันเวลา
   3.) สอดคล้องกับงาน
   4.) สามารถตรวจสอบได้

4.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
ตอบ   1.) เข้าถึงสารสนเทศ
   2.) การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติ
   3.) ตรวจสอบผลการดำเนินงาน
   4.) ศึกษา และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
   5.) การวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรค
   6.) ลดค่าใช้จ่าย

5.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบ   1.) ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล
   2.) ความปลอดภัยของข้อมูล
   3.) ความยืดหยุ่น
   4.) ความพอใจของผู้ใช้

6.ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ   1.) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
   2.) เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตณ์
   3.) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
   4.) มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
   5.) บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารโทรคมนาคม
   6.) การจัดและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
   7.) ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน แก่ผู้ใช้อื่น
   8.) เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่ เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

7.เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ ?
ตอบ   เพราะ การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถทำให้เกิดการกระจายอำนาจในองค์การ การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลหรือคู่แข่งขัน เป็นต้น ดั้งนั้นผู้ที่เกี่ยวก็ จะต้องตระหนักถึงบุคคลรอบข้างด้วยว่ามีผลกระทบต่อใคร
เขียนโดย Panida

  
กรณีศึกษา: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศกรีม Iberry




1.ประโยชน์ที่ร้านไอศกรีม Iberry นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้วนักศึกษาคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดได้บ้าง
ตอบ   ด้านการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน และการบริการการส่งไอศครีม Iberry
   - ด้านการสั่งซ้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน เนื่องจากร้านมีสาขาเยอะแล้วในการจำหน่วยไอศครีม อาจจะมีบางช่วงที่ลูกค้าหนาแน่น จึ่งทำให้วัตถุดิบภายในร้านหมดลงในการนี้ที่ร้านใช้ระบบ It จึงมีความจำเป็นในด้านการสั่งซื้อของโดยตรงจากสำนักงานใหญ่ หรือสาขาที่มีความรับผิดชอบในเรื่องการจัดส่งวัตถุดิบเข้าร้านไอศครีม Iberry
   - การบริการด้านการส่งไอศครีม Iberry ทางร้านอาจจะใช้การสั่งซื้อผ่านระบบเครือข่าย Internet หรือระบบ Network แล้วในการส่งก็ต้องใช้ความชำนาญทางร้านไอศครีมก็อาจจะใช้ระบบ GPRS เข้ามาช่วยในระบบการส่งไอศครีมให้กับผู้ที่สั่งซื้อเป็นต้น

2.นักศึกษาคิดว่าในอนาคตร้านไอศกรีม Iberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้าง
ตอบ   - ในด้านการขาย ทางร้านอาจจะนำระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การสั่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต ผ่านเพจของทางร้านหรือผ่านทางไลน์เจ้าของร้านโดยตรง
   - ด้านการชำระเงิน อาจจะชำระเงินผ่านทางบัตรเตรดิต หรือผ่านบัตรส่วนลดของทางร้าน เป็นต้น

3.จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหารร้านไอศกรีม Iberry นักศึกษาคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   นำมาประยุกต์ใช้กับร้านเค้กไอศกรีม
   1.ใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิที่ตู้ไอศกรีม หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เครื่องควบคุมระบบจะโทรศัพท์อัตโนมัติแจ้งให้ศูนย์ควบคุมได้ทราบ คือการนำมาใช้กับการควบคุมอุณหภูมิของตู้แช่เค้กไอศกรีม

   2.การควบคุมดูแลพนักงานร้านในแต่ละสาขาใช้วิธีการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ด้วยระบบ Network Camera สามารถบันทึกภาพและเหตุการณ์ภายในร้านได้ตลอดเวลา และสามารถดูภาพผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือเราจะได้รู้ความเป็นไปภายในร้าน และสามารถป้องกันอันตรายได้อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

นางสาวณัฐนิชา  ภาสดา 
 สาขาการจัดการทั่วไป ชั้นปีที่ 3  (กลุ่มเรียนอังคารเช้า)