วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สรุปบทที่ 6 ระบบสารสนเทศสำหรับการปฎิบัติงาน

สรุปบทที่ 6 ระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงาน



ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.    ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (Accounting Information System)
หรือเรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดค่าได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ ระบบสารสนเทศทางด้านการบัญชีจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1.1 ระบบบัญชีทางการเงิน (Financial Accounting System) จะเป็นการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ นำเสนอสารสนเทศแก้ผู้ใช้และผู้ที่สนในข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุน และเจ้าหนี้
1.2 ระบบบัญชีผู้บริหาร (Managerial Accounting System) เป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ
2.    ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System)
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน จะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุนอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
2.1 การพยากรณ์ (Forecast) คือการศึกษาวิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงินจะอาศัยข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
2.2 การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) คือการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้น หรือตราสารทางการเงิน
2.3 การควบคุมทางการเงิน (Financial Control) เป็นการติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจจะจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1). การควบคุมภายใน (Internal Control)
2). การควบคุมภายนอก (External Control)
3.    ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing Information System)
ระบบสารสนเทศทางการตลาด จะประกอบด้วยระบบหน่อย ซึ่งแบ่งตามหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
1. ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย จะประกอบด้วย
1.1 ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายข่าย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ระบบต้องการอาจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ
1.2 ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขาย ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติมโตของสินค้า
1.3 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด จะประกอบด้วย
2.1 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขตของการใช้สารสนเทสกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องทราบสารสนเทศที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยม และพฤติกรรมการบริโภค
2.2 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่วย ซึ่งอาจจะครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สารสนเทศที่จำเป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือ สภาวะและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดี่ยวกันในตลาด รวมทั้งสถานการณ์การแข่งขันของผลิตภัณฑ์
3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้าและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้น สารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าตัวใดต้องทำการวางแผนการส่งเสริมการขายอย่างไร
4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ
เป็นระบบที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด สารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดี่ยวกันในอดีต
5. ระบบสารสนเทศสำหรับการพยากรณ์การขาย
เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมารที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สถานการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา
6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ โดยสารสนเทศต้องการคือ สารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
การกำหนดราคาทางการตลาด จะต้องคำนึงถึง ความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งราคาจากต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ สารสนเทศที่ต้องการคือ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงให้ได้สัดส่วนของกำไรที่ต้องการ
8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
การควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไรกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย
4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (Production and Operations Information System)
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน จะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ผู้ผลิตสามารถพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไปตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System)
หรือที่เรียกว่า HRIS หรือระบบสารสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (Personnel
Information System) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผนการจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินงานการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกดประสิทธิภาพ โดยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้
1. ข้อมูลตัวบุคลากร เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบ ด้วยประวัติ เงินเดือน และสวัสดิการ
2. ผังองค์การ แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงาน และแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล
3. ข้อมูลจากภายนอก ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิด ที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งต้องการข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6
1. ทำไมแนวโน้มของระบบสารสนเทศ จึงมีการนำไปสนับสนุนงานธุรกิจหลายด้าน
ตอบ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในธุรกิจและผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานระบบสารสนเทศ สามารถสนองความต้องการการใช้งานด้านธุรกิจได้

2. ทำไมระบบการตลาดปัจจุบัน จึงเปลี่ยนมาเป็นการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต จงอธิบาย
ตอบ การตลาดทำหน้าที่สำคัญในการจัดการธุรกิจการค้า องค์ธุรกิจจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานด้านการตลาดที่สำคัญในอันที่จะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่นำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Gulf States Paper Corporation

4. ระบบการขายในสำนักงานอัตโนมัติ มีผลกระทบต่อพนักงานขาย พนักงานฝ่ายบริหารการตลาด และฝ่ายจัดทำเรื่องการแข่งขันอย่างไร
ตอบ การเพิ่มจำนวนขึ้นของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายทำให้เกิดปัจจัยพื้นฐานสำหรับแรงขับเคลื่อนการขายอัตโนมัติ ในหลายๆบริษัท ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เว็บบราวเซอร์และซอฟแวร์ด้านการจัดการติดต่อการขายเป็นเครื่องมือที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซท์การตลาดบนอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตและอินทราเน็ตของบริษัท

5. ระบบอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต สามารถนำมาช่วยในการทำงานร่วมกันในกระบวนการผลิตได้อย่างไร
ตอบ กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และการบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือ การเพิ่มในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ตและเครือข่ายอื่นๆเพื่อเชื่อโยงกับสถานีงาน

6. ระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต ช่วยสนับสนุนด้านการการจัดการเรื่องทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างไร ยกตัวอย่างมาอย่างละ 3 ตัวอย่าง
ตอบ   อินเทอร์เน็ต เช่น ระบบออนไลน์ของ HRM ได้เกี่ยวข้องกับการจัดหาลูกจ้างผ่านเว็บไซท์ของแผนกจัดหาลูกจ้างของบริษัท ใช้บริการและฐานข้อมูลของบริษัทจัดหางานบนเว็บ การประกาศผ่านกลุ่มข่าวบนอินเทอร์เน็ตและสื่อสารกับผู้สมัครงานผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
   อินทราเน็ต เช่น การให้บริการตัวเองของลูกจ้างจะช่วยให้พนักงานได้เห็นรายงานด้านผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย ข้อมูลด้านการจ้างงานและเงินเดือน สามารถเข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศส่วนบุคคลให้เป็นปัจจุบัน

7. เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ด้านการบัญชี และการเงินอย่างไร อธิบาย
ตอบ ระบบคอมพิวเตอร์ด้านการบัญชีจะทำการบันทึกและรายงานการไหลเวียนของเงินทุนภายในองค์กรในเรื่องที่สำคัญในอดีตและผลิตรายการด้านการเงิน ส่วนระบบสารสนเทศด้านการเงินสนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัท เป็นต้น

8. ถ้านักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้บริหารหรือเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจเอง นักศึกษาคิดที่จะนำเอาระบบสาระสนเทศมาใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล
ตอบ    ใช่ เพราะระบบสารสนเทศสามารถที่จะช่วยให้ธุรกิจของเราไปอย่างได้ง่ายขึ้น สะดวกในการบริหารงานมากขึ้น ยิ่งในเรื่องของระบบสารสนเทศด้านบัญชีที่ช่วยในเรื่องของระบบบัญชีออนไลน์ที่ช่วยในเรื่องของกระบวนการสั่งซื้อ การควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นต้น

กรณีศึกษา
Book -Of -The-Month Club : การตลาดแบบขายตรงบนเว็บ
1. คุณคิดว่าทำไมการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ถึงจะดีกว่าการสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบไปรษณีย์ สำหรับ Book -Of -The-Month Club
ตอบ  การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากพวกเขามีทางเลือกมากกว่าแคตตาล็อกที่จะส่งให้ลูกค้า 17 ครั้งต่อปี โดยจะมีรายชื่อหนังสือใหม่ 30 ชื่อเรื่องและลดราคาหนังสือเดิม 200 ชื่อเรื่องต่อครั้ง ลูกค้าสามารถเลือกหนังสือได้มากกว่า 3,200 รายการ ซึ่งให้รายละเอียดเป็นพิเศษในเรื่องของเนื้อหา ประวัติของผู้เขียน คำวิจารณ์ของบรรณาธิการ และอื่นๆ

2. คุณเห็นด้วยกับนักการตลาดออนไลน์ไหมว่า ชื่อตราผลิตภัณฑ์อย่าง Book-Of-The-Month Club สามารถมีความได้เปรียบในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ทำไมจึงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ตอบ  เห็นด้วย เพราะ ระบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและทำให้ชื่อสียงของร้านมีความทันสมัยมากขึ้น เปนผลตอบแทนที่ดีแบบไม่ได้ตั้งใจ

3.  มีขั้นตอนอื่นๆ อีกไหมที่ Book-Of-The-Month Club ควรใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจบนเว็บ
ตอบ  1. การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์
2. การรวบรวมข้อมูล
3. การจัดการฐานข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การนำไปปฏิบัติและตอบสนองลูกค้า
6. การวะเคราะห์การตอบกลับของลูกค้า

วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สรุปบทที่ 5 อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร

สรุปบทที่ 5
อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และความร่วมมือระหว่างองค์กร


อินทราเน็ต (Intranet)
อินทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันกับ อินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกภายในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายกระทรวงมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศเป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้นเป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งานกล่าวได้ว่าการใช้งานอินทราเน็ตก็คือการใช้งานของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโดยจำกัด ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บอีเมล, FTP เป็นต้น
การประยุกต์ใช้อินทราเน็ต
ในปัจจุบันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลาย อาทิเช่น การจัดการเอกสารข้อมูลการตีพิมพ์และกระจายข่าวสารการจองห้องและอุปกรณ์ห้องสนทนาออนไลน์(chat room), เว็บบอร์ด (web board), อัลบั้มรูปการจัดการสมุดรายชื่อและข้อมูลการติดต่อ และอื่น ๆ อีกมากมาย
เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นระบบเครือข่ายที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการทำงานต่างๆร่วมกันของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งานให้อยู่ภายในองค์กรเท่านั้น เช่น การใช้งานเครื่องบริการเว็บ (web server) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น


ตัวอย่างโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อเครือข่ายอินทราเน็ต
http://e-businessspu.blogspot.com/2015/10/intranet.html


เอกซ์ทราเน็ต (Extranets)
เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กซ์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กซ์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้
ประโยชน์ของเอกซ์ทราเน็ต
1.ช่วยให้การทำงานผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพราะสามารถติดต่อกับสมาชิกเครือข่ายได้หลายรูปแบบทั้งการโต้ตอบการข่าวสารหรือการส่งโทรสาร
2.ทำให้ธุรกิจสามารถบริหารสินค้าคงคลังได้ดีขึ้นเนื่องจากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายของบริษัทเข้ากับบริษัทคู่ค้าหรือบริษัทขายสินค้าโดยตรงเช่นผู้ค้าปลีกที่มีการติดต่อกับผู้ค้าส่งย่อมมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาว่าสินค้าตัวไหนขายดีเป็นการตัดปัญหาเรื่องสินค้าขายตลาดไปได้
3.ช่วยรักษาความสัมพันธ์ในแบบตัวต่อตัวกับลูกค้าโดยจะลดเวลาและต้นทุนที่ใช้ในกระบวนกาติดต่อลูกค้าหรือให้บริการลูกค้าลดลงตัวอย่างเช่นบริษัทสามารถเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวสินค้าและบริการไปยังลูกค้าได้ง่ายขึ้น
4.สามารถสร้างกลุ่มข่าวสารส่วนบุคคล (Private Newsgroup) ที่เป็นแหล่งที่ให้ธุรกิจทีรวมกลุ่มกันนั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ร่วมกัน
5.สามารถจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงานรมกันภายในกลุ่มโดยผ่านทางเอกซ์ทราเน็ตสามารถให้บริการหรือขายสินค้าเฉพาะลูกค้าที่เป็นสมาชิกท่านั้น


ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างอินทราเน็ต เอกซ์ทราเน็ต และอินเทอร์เน็ต
http://e-businessspu.blogspot.com/2015/10/extranets.html


กรณีศึกษา




Nu Skin International : มูลค่าทางธุรกิจเอ็กซ์ทราเน็ตของตัวแทนจำหน่าย
1. อะไรคือวัตถุประสงค์ของ Nu Skin ในการใช้เอ็กซ์ทราเน็ต อะไรคือผลประโยชน์ที่ Nu Skin คาดหวัง
ตอบ     การเสริมเครื่องมือสนับสนุนการเจาะตลาดตามบ้าน การใช้เอ็กซ์ทราเน็ตสำหรับเก็บคำสั่งซื้อ คาดหวังที่จะลดต้นทุนการดำเนินงาน

2. ตัวแทนจำหน่ายของ Nu Skin ได้รับผลประโยชน์อะไรจากเอ็กซ์ทราเน็ต
ตอบ        ได้รับสารสนเทศเกี่ยวกับเครื่องสำอาง โภชนาการ และผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาที่บริษัทมีเสนออยู่ได้สั่งซื้อแบบออนไลน์ จัดการการส่งสินค้า ตรวจสอบยอดขายของตัวเองสนับสนุนตัวแทนจำหน่ายใหม่และติดตามการจ่ายเช็กรายเดือน

3.ทำไมเอ็กซ์ทราเน็ตจึงเป็นแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเครือข่ายของตัวแทนจำหน่ายทางด้านการตลาดธุรกิจเช่น Nu Skin
ตอบ     การให้บริการบนเว็บจะทำให้เกิดการผลักดันในเรื่องการแข่งขันและจูงใจตัวแทนจำหน่ายรายใหม่และได้รับสารสนเทศที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5


1. มีธุรกิจอะไรบ้าง ที่นำเข้าระบบอินทราเน็ตเข้าไปช่วยในการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรของตน
ตอบ        บริษัท US West Communications และ Netscape Communications

2. นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ ที่มีบางบริษัทนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ในการติดต่อกับพนักงานและร้านค้าต่างๆ ด้วยการใช้โทรศัพท์
ตอบ   เป็นเครื่องมือที่ต้นทุนต่ำและใกล้ที่จะเป็นการสื่อสารสากลช่วยในการส่งโทรสาร รับไปรษณีย์เสียงและนำสู่การสนทนาสองทาง

3. มีอะไรบ้างที่เป็นข้อจำกัดในการนำเข้าระบบอินทราเน็ตมาใช้ในธุรกิจปัจจุบัน
ตอบ    เทคโนโลยีใหม่ที่ค่อยเป็นค่อยไป ขาดคุณสมบัติในเรื่องความปลอดภัย ขาดการจัดการปฏิบัติงาน การสนับสนุนจากผู้ใช้ต่ำสุด อาจต้องการการยกระดับเครือข่าย แม่ข่ายไม่สามารถใช้งานร่วมกันระหว่างรุ่นต่างๆได้ ไม่ได้อัตราส่วนกับองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้โปรแกรมประยุกต์เชิงโต้ตอบที่เพิ่มขึ้น ยากที่จะบำรุงรักษาสารบัญได้ตลอดเวลา ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์และเสียงที่ช้า สารสนเทศที่ไม่ได้กรองอาจจะท่วมผู้ใช้ พนักงานไม่ทุกคนที่จะมีคอมพิวเตอร์

4.นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่มีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และมีความต้องการที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันหรือติดต่อกับบุคคลอื่น เพราะเหตุใด
ตอบ    เห็นด้วย เพราะในยุคนี้เป็นยุคของโลกไซน์เบอร์ที่ต้องมีการพัฒนาตัวเองทางด้านคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์กันมากขึ้นเพื่อเพิ่มความรู้และตามทันคู่แข่งขันที่ทันสมัยที่มีการแข่งขันสูง

5. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่ใช้อินทราเน็ตให้บริการทางธุรกิจ
ตอบ       บริษัท US West Communications

6. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตให้บริการทางธุรกิจ
ตอบ       บริษัท Nu Skin Internetional

7.นักศึกษาเคยใช้การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(e-mail)หรือการพูดคุยผ่านระบคอมพิวเตอร์(Chat) หรือการประชุมร่วมกันตัดสินใจหรือไม่และให้เหตุผลที่จะนำเอาระบบเหล่านี้มาที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน จงอธิบาย
ตอบ      เคย เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับผู้อื่นในธุรกิจ ส่งสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ของเอกสาร แฟ้มข้อมูลและข้อความสื่อประสม

8. จงยกตัวอย่างเครื่องมือการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
ตอบ         ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์เสียง การส่งโทรสาร งานสิงพิมพ์บนเว็บ

ที่มา:  https://sites.google.com/site/chodiwat2/kherux-khay-khxmphiwtexr/xinthexrnet-xinthranet
        http://learn.wattano.ac.th/
        http://num-kwang.blogspot.com/2011/08/5.html

วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สรุปบทที่ 4 การจัดการฐานข้อมูล

สรุปบทที่4 

การจัดการฐานข้อมูล



การจัดการทรัพยากรข้อมูล
       ข้อมูล (Data) เป็นทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นในการจัดการเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆของธุรกิจ องค์กรส่วนใหญ่จะไม่สามารถอยู่รอดหรือประสบความสำเร็จได้หากปราศจากข้อมูลที่มีคุณภาพ (Quality Data) เพื่อการดำเนินกิจการภายในและที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวคิดข้อมูลพื้นฐาน (Foundation Data Concepts)
       แนวคิดพื้นฐานว่าข้อมูลถูกจัดระเบียนในระบบสารสนเทศได้อย่างไร ระดับของข้อมูลมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มหรือส่วนย่อยของข้อมูล ดังนั้นข้อมูลอาจถูกจัดระเบียบเชิงตรรกะในรูปตัวอักขระ เขตข้อมูล ระเบียน แฟ้ม และฐานข้อมูล แบบเดียวกับการเขียนที่สามารถจัดระเบียบเป็นตัวอักษร คำ ประโยค และย่อหน้า
- ตัวอักขระ (Character) ส่วนย่อยของข้อมูลเชิงตรรกะขั้นต้น ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ 1 ตัว อาจมีข้อโต้แย้งว่า Bit หรือ Byte น่าจะเป็นส่วนย่อยของข้อมูลขั้นต้นมากกว่า แต่ในนิยามนี้อ้างถึงส่วนย่อยของการจัดเก็บทางด้านกายภาพ (Physical Storage)
-  เขตข้อมูล (Field) ระดับถัดไปเป็นเขตข้อมูลหรือหน่วยข้อมูล (Data Item) เขตข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มของอักขระ เช่น กลุ่มของตัวอักขระที่เป็นตัวอักษรของชื่อบุคคลอยู่ในรูปแบบของเขตข้อมูลชื่อ และกลุ่มของตัวเลขยอดขายอยู่ในรูปแบบของเขตข้อมูลยอดขาย เป็นต้น
- ระเบียน (Record) เขตข้อมูลที่สัมพันธ์กันถูกจัดเป็นกลุ่มในรูปแบบระเบียน แสดงการรวบรวมคุณสมบัติที่ใช้อธิบายเอนทิตี (Entity) เช่น ระเบียนเงินเดือน ซึ่งประกอบด้วยเขตข้อมูลที่อธิบายถึงคุณสมบัติเช่น ชื่อคน หมายเลขประกันสังคม และอัตราค่าจ้าง ระเบียนที่มีความยาวคงที่ (Fixed-length) จะบรรจุเขตข้อมูลจำนวนคงที่และมีความยาวเป็นตัวเลขที่คงที่ ส่วนระเบียนที่มีความยาวไม่คงที่ (Variable-length) จะบรรจุเขตข้อมูลที่มีจำนวนและความยาวที่ไม่คงที่
- แฟ้ม (File) กลุ่มของระเบียนที่สัมพันธ์กัน เรียกว่า แฟ้ม (File) หรือตาราง (Table) เช่น แฟ้มพนักงานจะประกอบด้วยระเบียนพนักงาน แฟ้มอาจจำแนกได้ตามความถี่ของการใช้งาน เช่น แฟ้มเงินเดือน (Payroll File) หรือแฟ้มสินค้าคงคลัง (Inventory File) หรือตามประเภทของเอกสารที่เก็บ เช่น แฟ้มเอกสาร (Document File) หรือแฟ้มภาพกราฟิก (Graphical Image File) หรือตามระยะเวลาที่เก็บ เช่น แฟ้มหลัก (Master File) กับแฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction File) แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยระเบียนของรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างงวดและอาจนำมาใช้เป็นระยะๆ เพื่อการปรับปรุงระเบียนในแฟ้มหลัก แฟ้มประวัติรายการเปลี่ยนแปลงที่ล้าสมัย (History File) หรือแฟ้มหลักที่ยังคงเก็บไว้เพื่อสำรองหรือสำหรับการเก็บประวัติในระยะยาว จะเรียกว่า หน่วยเก็บจดหมายเหตุ (Archival Storage)
- ฐานข้อมูล (Database) เป็นการรวบรวมแบบบูรณาการของระเบียนหรือออบเจ็กต์ (Objects) ในเชิงตรรกะที่สัมพันธ์กัน อันประกอบด้วยข้อมูลที่ใช้อธิบายถึงเอนทิตี รวมถึงการปฏิบัติงานกับข้อมูลนั้น
ฐานข้อมูลเป็นที่รวบรวมระเบียนที่เก็บในรูปแฟ้ม ให้เป็นระเบียนส่วนกลาง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการใช้งาน ข้อมูลที่เก็บในฐานข้อมูลจะเป็นอิสระไม่ขึ้นกับโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งาน และเป็นอิสระจากอุปกรณ์ที่จัดเก็บ
       การใช้ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล (Using Database Management Software)
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นกลุ่มของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถใน การควบคุม การสร้าง การบำรุงรักษา และการใช้ฐานข้อมูลขององค์กรและของผู้ใช้ ทั้งในระดับไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ระดับกลาง และเมนเฟรม การใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลมี 4 แบบหลักๆ ดังรูปที่ 7.5 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) การพัฒนาฐานข้อมูล (Database Development)
       โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access หรือ Lotus Approach อนุญาตให้ผู้ใช้พัฒนาฐานข้อมูลตามที่ต้องการได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามระบบผู้รับบริการและผู้ให้บริการ (Client-Server) ขององค์กรใหญ่ๆ หรือระบบเมนเฟรมปกติแล้วจะมอบการควบคุมการพัฒนาฐานข้อมูลขององค์กรให้อยู่ในมือของผู้บริหารระบบ (Database Administrators : DBAs) หรือผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล (Database Specialists) การทำเช่นนี้เป็นการปรับปรุงความถูกต้องและความปลอดภัยในฐานข้อมูลขององค์กร การพัฒนาฐานข้อมูลใช้ภาษานิยามข้อมูล (Data Definition Language : DDL) สำหรับระบบจัดการฐานข้อมูล เช่น Oracle8 หรือ DB2 ของ IBM เพื่อพัฒนาและกำหนดเนื้อหาของข้อมูล ความสัมพันธ์ โครงสร้างของแต่ละฐานข้อมูล และปรับเปลี่ยนคุณลักษณะเฉพาะของฐานข้อมูลเมื่อจำเป็น สารสนเทศเหล่านั้นถูกจัดทำสารบัญแฟ้ม (Catalog) และเก็บลงในฐานข้อมูลของนิยามข้อมูลและคุณลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
       พจนานุกรมข้อมูล เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของการบริหารฐานข้อมูล พจนานุกรมข้อมูลเป็นสารบัญแฟ้มเชิงคอมพิวเตอร์หรือที่บรรจุ เมตาเดตา (Metadata) ซึ่งถือเป็นข้อมูลของข้อมูล (Data about Data) รวมทั้งส่วนประกอบซอฟต์แวร์เพื่อจัดการฐานข้อมูลของนิยามข้อมูล
2) การสืบค้นฐานข้อมูล (Data Interrogation)
       ความสามารถในการสืบค้นฐานข้อมูลเป็นผลประโยชน์หลักของระบบจัดการฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลสำหรับการขอสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยการใช้ภาษาสอบถาม (Query Language) หรือตัวสร้างรายงาน (Report Generator) ซึ่งทำให้สามารถรับคำตอบทันทีในรูปแบบของการแสดงทางจอภาพหรือรายงาน
SQL และ QBE SQL หรือภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language) เป็นภาษาสอบถามที่พบในหลายโปรแกรมสำเร็จรูปจัดการฐานข้อมูล รูปแบบพื้นฐานของการสอบถามของ SQL คือ SELECT………..FROM………..WHERE………..


รูปที่ 7.5 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจัดการฐานข้อมูล 4 ประเภทหลัก คือ การพัฒนาฐานข้อมูล การสืบค้นฐานข้อมูล การบำรุงรักษาฐานข้อมูล และการพัฒนาระบบงาน

3) การบำรุงรักษาฐานข้อมูล (Database Maintenance)
       ฐานข้อมูลขององค์กรต้องการการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลมาจากรายการเปลี่ยนแปลงใหม่หรือเหตุการณ์อื่นๆและการเปลี่ยนแปลงเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ทั้งนี้ต้องทำให้แน่ใจในความถูกต้องของข้อมูลในฐานข้อมูล กระบวนการบำรุงรักษาฐานข้อมูลนี้ทำได้โดยโปรแกรมประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงและโปรแกรมสำเร็จรูปของผู้ใช้อื่นๆ ที่สนับสนุนระบบจัดการฐานข้อมูล
4) การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Development)
       โปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูลมีบทบาทหลักในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สามารถใช้ภาษาโปรแกรมยุคที่สี่ (4GL Programming Language) และสร้างเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์จากโปรแกรมสำเร็จรูประบบจัดการฐานข้อมูล เช่น การใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อสร้างหน้าจอภาพสำหรับป้อนข้อมูล แบบฟอร์ม รายงาน หรือหน้าเว็บ (Web Page) ของโปรแกรมธุรกิจได้โดยง่าย ระบบจัดการฐานข้อมูลทำให้งานของโปรแกรมเมอร์ง่ายขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องพัฒนากระบวนคำสั่งเพื่อจัดการรายละเอียดข้อมูลด้วยภาษาโปรแกรมตามแบบเดิมทุกครั้งที่เขียนโปรแกรม โดยสามารถใช้ภาษาจัดดำเนินการข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) เพื่อให้ระบบจัดการฐานข้อมูลทำงานที่จำเป็นในส่วนนี้แทน

ประเภทของฐานข้อมูล (Types of Databases)
       การพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจมีผลให้เกิดฐานข้อมูลหลายประเภท รูปที่ 7. 11 แสดง 6 ประเภทหลักเชิงความคิดของฐานข้อมูลที่พบในองค์กรธุรกิจ
       ฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการ (Operational Database) เก็บรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการของทั้งองค์กร อาจเรียกว่า ฐานข้อมูลซับเจ็กแอเรีย (Subject Area Database : SADB) ฐานข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Databases) หรือฐานข้อมูลผลผลิต (Production database) เช่น ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลบุคคล ฐานข้อมูลสินค้าคงคลัง และฐานข้อมูลอื่นๆที่บรรจุข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ
       ฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Analytical Database) เก็บข้อมูลและสารสนเทศที่ดึงมาจากฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการและฐานข้อมูลภายนอก ประกอบด้วยข้อมูลสรุปและสารสนเทศที่จำเป็นต่อผู้จัดการองค์กรและผู้ใช้ อาจเรียกว่า ฐานข้อมูลเชิงจัดการ (Management Database) ฐานข้อมูลสารสนเทศ (Information Database) หรือฐานข้อมูลหลายมิติ (Multidimensional Database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เข้าถึงโดยระบบประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบต่อตรง (Online Analytical Processing : OLAP)

       
       รูปที่ 7.11 ตัวอย่างประเภทหลักๆ ของฐานข้อมูลที่ใช้โดยองค์กรและผู้ใช้ โดยใช้ฐานข้อมูลแบบกระจายบนอินทราเน็ต ผ่านเครือข่ายเพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลผู้ใช้ คลังข้อมูล ฐานข้อมูลภายนอกบนอินทราเน็ตและบริการต่อตรงหรือออนไลน์ ฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการขององค์กร และฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ของข้อมูลองค์กรที่วิกฤต

       คลังข้อมูล (Data Warehouses) เก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ โดยดึงจากฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เป็นแหล่งข้อมูลส่วนกลางที่ได้ถูกคัดเลือก แก้ไข จัดมาตรฐาน และรวบรวมเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ การวิจัยตลาด และสนับสนุนการตัดสินใจ คลังข้อมูลอาจแบ่งออกเป็นตลาดข้อมูล (Data Mart) ซึ่งเก็บส่วนย่อยของข้อมูลเฉพาะอย่างจากคลัง การใช้ฐานข้อมูลคลังข้อมูลหลักคือการทำเหมืองข้อมูล (Data mining) ซึ่งข้อมูลในคลังข้อมูลจะถูกประมวลผลเพื่อกำหนดปัจจัยหลักและแนวโน้มจากอดีตของกิจกรรมทางธุรกิจ
       
ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Databases) หลายๆ องค์กรทำซ้ำ (Replicate) และกระจายสำเนา (Copies) หรือบางส่วนของฐานข้อมูลไปยังแม่ข่ายเครือข่ายหลายๆ สถานที่ ฐานข้อมูลแบบกระจายนี้สามารถติดตั้งอยู่บนเครื่องแม่ข่ายเครือข่าย World Wide Web บนอินทราเน็ตขององค์กร หรือเอ็กซ์ทราเน็ต ฐานข้อมูลแบบกระจายอาจจะสำเนาจากฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการหรือฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ฐานข้อมูลสื่อหลายมิติ หรือฐานข้อมูลประเภทอื่นๆ เพื่อปรับปรุงการทำงานของฐานข้อมูลและเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลแบบกระจายขององค์กรได้รับการปรับปรุงตรงกัน (Consistently) และให้ทันสมัยพร้อมกัน (Concurrently Updated)
       
ฐานข้อมูลผู้ใช้ (End User Databases) ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลต่างๆ ที่พัฒนาโดยผู้ใช้ที่สถานีปลายทาง เช่น ผู้ใช้อาจจะมีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หลายๆ สำเนาที่ได้ดาวน์โหลดจาก World Wide Web จากโปรแกรมสำเร็จรูปประมวลผลคำ หรือรับจากไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่เกิดจากการใช้แผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) และโปรแกรมประยุกต์ระบบจัดการฐานข้อมูล
       ฐานข้อมูลภายนอก (External Databases) การเข้าถึงสารสนเทศที่มีค่าของฐานข้อมูลภายนอกจากพาณิชย์บริการต่อตรง (Commerial Online Services) โดยจ่ายค่าธรรมเนียม หรือจากแหล่งต่างๆบนอินทราเน็ต บน World Wide Web ทั้งที่มีค่าใช้จ่ายหรือไม่มีค่าใช้จ่าย จากเว็บไซท์จัดเตรียมหน้าเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ของเอกสารสื่อประสมที่ไม่รู้จบ (Endless) เพื่อการเข้าถึงฐานข้อมูลสื่อหลายมิติ (Premedia Database) ข้อมูลในรูปสถิติของกิจกรรมเศรษฐศาสตร์และประชากรจากธนาคารข้อมูลสถิติ (Stratistical Data Banks) การเรียกดู (View) หรือดาวน์โหลด (Download) บทคัดย่อหรือสำเนาที่สมบูรณ์จำนวนนับร้อยจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายข่าว งานวิจัย ข้อความ และวารสารอื่นๆ จากฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic) และต้นฉบับเต็ม (Full Text)

ประโยชน์และข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูล (Benefits and Limitations of Database Management)
      แนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับผลประโยชน์ที่สำคัญๆ มีหลายประการ เช่น การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้ โปรแกรมเป็นอิสระจากรูปแบบของข้อมูลและประเภทของฮาร์ดแวร์สำหรับจัดเก็บ ผู้ใช้ได้รับรายงานและการสอบถาม / การโต้ตอบ (Inquiry/Response) เพื่อได้สารสนเทศที่ต้องการโดยง่าย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกทำให้ง่ายขึ้นเพราะไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบเชิงตรรกะของข้อมูลหรือสถานที่จัดเก็บทางกายภาพของข้อมูล สุดท้ายการบูรณการและความปลอดภัยของข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเพราะการเข้าถึงและการแก้ไขฐานข้อมูลถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
       ข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น ดังนั้นแนวคิดเชิงการจัดการฐานข้อมูลทำให้เกิดปัญหาจัดการทรัพยากรข้อมูล การพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนและการติดตั้ง DBMS ที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูง มีความต้องการฮาร์ดแวร์มากขึ้นเนื่องจากความต้องการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร และโปรแกรม DBMS ที่ใหญ่ขึ้น เวลาที่ใช้ในการประมวลผลที่ยาวขึ้น อาจเป็นผลมาจากโปรแกรมประยุกต์ประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงที่มีขนาดใหญ่เพราะช่วงชั้นของซอฟต์แวร์ระหว่างโปรแกรมประยุกต์และระบบปฏิบัติการที่มากขึ้น สุดท้ายถ้าองค์กรวางใจในฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralize Database) อาจจะเป็นเหตุให้เกิดข้อผิดพลาด ฉ้อฉล และล้มเหลวเพิ่มมากขึ้น ในทำนองเดียวกันปัญหาในเรื่องความไม่แน่นอนของข้อมูลอาจจะเพิ่มขึ้นได้ถ้าใช้แนวทางฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database) ดังนั้นความปลอดภัยและบูรณาการของฐานข้อมูลขององค์กรจึงเป็นภาระหลักในการจัดการทรัพยากรข้อมูลองค์กร

http://www2.cvc.ac.th/trsai/it/learning1/chapter7.htm


เเบบฝึกหัดบทที่ 4

1. ทำอย่างไร  ที่องค์กรธุรกิจสามารถที่จะใช้เครือข่ายระหว่างองค์กรในการจัดเก็บเข้าถึงและแจกจ่ายข้อมูลสารสนเทศ ไปยังหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก
 ตอบ      ประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ในการบำรุงรักษาฐานข้อมูล ระเบียนหรือออบเจ็กต์ที่มีการเพิ่ม ลบ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจากรายการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ข้อมูลต้องเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้สารสนเทศถูกผลิตเพื่อตอบโต้กับคำร้องขอของผู้ใช้

2. อะไรคือบทบาทของการจัดการฐานข้อมูล  การบริหารฐานข้อมูลและการวางแผนที่จะใช้ข้อมูลมาเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ
 ตอบ      - การจัดการฐานข้อมูลเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จำเป็นในการจัดการเหมือนกับทรัพย์สินอื่นๆ ของธุรกิจ องค์กรต้องมีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
              - การบริหารฐานข้อมูล เป็นหน้าที่สำคัญของการจัดการทรัพยากรข้อมูลอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดตั้งและบังคับใช้นโยบายและกระบวนคำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล
              - การวางแผนข้อมูล เป็นการวางแผนขององค์กรและการวิเคราะห์หน้าที่ที่เน้นในเรื่องการจัดการทรัพยากรข้อมูล

3. อะไรคือประโยชน์ของแนวคิดในการรวบรวมฐานข้อมูล  การเข้าถึงและการจัดการทรัพยากรฐานข้อมูล  จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ      คือ เป็นส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่ายมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล ในการบำรุงรักษาฐานข้อมูลและการจัดการทรัพยากรข้อมูลที่เป็นระบบ

4. อะไรคือบทบาทของระบบสารสนเทศในการจัดการระบบฐานข้อมูล
ตอบ      รวบรวมระเบียนระเบียนและออบเจ็กต์ ให้เป็นฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยโปรแกรมประยุกต์ เรียก ระบบจัดการฐานข้อมูล ทำหน้าที่เป็นส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล ที่ช่วยผู้ใช้ให้เข้าถึงระเบียนในฐานข้อมูลได้อย่างง่ายดาย

5.  ฐานข้อมูลสารสนเทศนั้น  เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติการภายในองค์กรให้พิจารณาว่า ยังมีฐานข้อมูลประเภทใดอีกที่มีความสำคัญในธุรกิจปัจจุบัน
ตอบ    โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล
-โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า
-โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย
-โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วยFoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบนFoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน
-โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรมFoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย
-โปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่ง SQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป

6. อะไรคือข้อดีหรือประโยชน์  และอะไรคือข้อจำกัดของตัวแบบความสัมพันธ์ของฐานข้อมูลที่ประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจปัจจุบัน
ตอบ     ประโยชน์และข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูล
            เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ที่สำคัญๆ เช่น การลดการซ้ำซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้ โปรแกรมอิสระจากรูปแบบข้อมูลและประเภทของฮาร์ดแวร์สำหรับจัดเก็บ ผู้ใช้ได้รับรายงานและการสอบถาม การโต้ตอบ เพื่อได้สารสนเทศที่ต้องการโดยง่าย
            ข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ดังนั้น ทำให้เกินปัญหาจัดการทรัพยากรข้อมูล การพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีประเภทข้อมูลที่ซับซ้อนและการติดตั้ง DBMS ที่ยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง

7. จงอธิบายถึงฐานข้อมูล คลังข้อมูลและตลาดข้อมูลในความเข้าใจของนักศึกษา
ตอบ      - ฐานข้อมูล เป็นการรวบรวมระเบียนที่เก็บในรูปแบบแฟ้ม เป็นอิสระจากอุปกรณ์ที่จัดเก็บ
             - คลังข้อมูล เก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ โดยดึงข้อมูลเชิงปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เป็นแหล่งข้อมูลส่วนกลางที่ได้ถูกคัดเลือก แก้ไข จัดมาตรฐานและรวบรวมเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ การวิจัยตลาด และสนับสนุนการตัดสินใจ
             - ตลาดข้อมูล เป็นที่ที่มีแหล่งข้อมูลที่มีมาก เพื่อให้ผู้บริหารได้ทำการเลือกใช้ตามความต้องการ

8. ทำไมตัวแบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จึงได้รับกายอมรับในการนำเอามาพัฒนาและจัดการฐานข้อมูลทางธุรกิจบนเว็บ
ตอบ      โครงสร้างเชิงวัตถุ แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญของยุคใหม่ของโปรแกรมประยุกต์สื่อประสมเชิงเว็บ

9. ทำอย่างไรที่จะนำเอาอินเทอร์เน็ต และ  World  Wide Wed  มาใช้ในการจัดการทรัพยากรข้อมูลเพื่อประกอบการทำธุรกิจได้
ตอบ      เป็นซอฟแวร์ที่สำคัญในการจัดการหน้าสื่อประสมเชื่อมโยงหลายมิติและข้อมูลประเภทอื่น ที่สนับสนุนเว็บไซท์ขององค์กรเป็นเพราะ OODBMS สามารถจัดการเรื่องการเข้าถึงและจัดเก็บออบเจ็กต์ เช่น เอกสาร ภาพกราฟิก วีดีทัศน์ อื่นๆ ได้โดยง่าย


http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it04/page01.html

กรณีศึกษาบทที่3
1. การใช้แนวคิดเชิงระบบได้ช่วยให้บริษัทแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างไร
ตอบ   ปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ถูกกำหนดให้เป็นขั้นตอนแรกของแนวคิดเชิงระบบปัญหา สามารถให้คำจำจัดความได้ว่าเป็นภาวะพื้นฐานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ แนวทางแก้ไขคือ ภาวะพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ สัญณานบอกเหตุ หมายถึง ปัญหาสำคัญที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงแต่มีแนวโน้มว่าจะเกิด
2. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับแนวทางที่บริษัทใช้ในการแก้ปัญหาทำไมจึงเห็นด้วยและทำไมจึงไม่เห็นด้วย
ตอบ    เห็นด้วยหลังจากนั้น 2 เดือนลูกค้าที่มาใช้บริการบ่อยกว่า 90% กลับมาซื้อสินค้าอีก
อะไรอีกที่คุณอยากแนะนำให้คามิลอททำเพื่อปรับปรุงสถานการณ์ทางธุรกิจของบริษัทและจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยได้อย่างไร
ตอบ บริษัทอาจจะต้องมีการสำรองแผนหลายแผน เพราะเรามิอาจทราบได้ว่าปัญหาจะเกิดอะไรขึ้นอีกบ้างซึ่งก็จะเเสดงถึงการพัฒนาปัญหาทางธุรกิจ

ตอนที่2



1. อะไรคือขั้นตอนที่แนวคิดเชิงระบบในการพัฒนากระบวนการจัดทำเว็บไซท์ของบริษัท Millipore 
ตอบ    ความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ด้วยวิธีการนี้ Millipore ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำผลิตภัณฑ์กำจัดของเสีย (Purification : ผลิตภัณฑ์ที่กำจัดสิ่งสกปรกและทำให้เกิดความบริสุทธิ์ เช่น อากาศ น้ำเสีย ) ระดับชาติ ที่มีมูลค่า 619 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ก้าวล้ำนำคู่แข่งขันในธุรกิจประเภทเดียวกัน

2. ทำไมการสำรวจลูกค้าบนเว็บแบบออนไลน์ จึงไม่สามารถวัดของต้องการของลูกค้าที่เท่าที่ควร
ตอบ     สามารถทำการวิเคราะร์ข้อมูลของลูกค้าทีเข้ามาใช้ โดยเหมือนกับการมองข้ามไหล่ของผู้ใช้แต่มองดูที่จอภาพ คุณไม่สามารถเห็นได้ว่าเขายิ้มหรือรู้สึกอย่างไรเพียงแต่คุณรู้แค่ว่าเขากำลังทำอะไร

3. คุณเห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาของ Millipore เพื่อพัฒนาเว็บไซท์สำหรับลูกค้า ทำไมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
ตอบ     ไม่เห็นด้วย เพราะ ผู้ใช้กำลังใส่หมายเลขรหัสสินค้าในช่องการสืบค้นโดยไม่ได้แทรกช่องว่างตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น การสร้างหน้าเว็บที่มีหมายเลขรหัสสินค้าโดยไม่ต้องให้มีช่องว่าง ( ระหว่างตัวเลขแต่ละชุด ) ก็เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ได้